วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ขอเชิญร่วมทำบุญซื้อที่ดินถวายวัดอาศรมธรรมทายาท

ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมสร้างบุญสร้างกุศลแก่ตนเอง และอุทิศบุญกุศลแก่บิดามารดา ด้วยการบริจาคปัจจัยเพื่อซื้อที่ดินถวายวัดอาศรมธรรมทายาท ในงานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 7 วัน 7 คืน

ตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค. ถึงวันที่ 30 มี.ค.53 (วันเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
ในการจัดซื้อที่ดินผืนดังกล่าวนี้ หลวงตาแชร์และคณะกรรมการวัดได้มีการวางแผนที่จะขยายที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม มีการจัดสวนสมุนไพร การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ และสิ่งจำเป็นอื่นๆ เนื่องจากมีอาณาเขตติดวัดอาศรมธรรมทายาท และมีเนื้อที่ขนาด 6 ไร่ กอร์ปกับวัดอาศรมธรรมทายาทไม่มีอาคารพักเพียงพอที่จะรับนักเรียน และประชาชน ในการอบรมนักเรียนและการปฏิบัติกรรมฐานของพุทธศาสนิกชน
ดังนั้นจึงขอบอกบุญมายังท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงรับเพื่อความสุขความเจริญจงบังเกิดแก่ท่านและครอบครัวของท่านด้วยเทอญ

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาศรมธรรมทายาท อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
เบอร์หลวงตาแชร์ โทร.081-8788754

วิธีการสวดมนต์



กราบนมัสการ พระธรรมสิงหบุราจารย์(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
"สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานเป็นประจำ อโหสิกรรมก่อนค่อยแผ่เมตตา"
"มีเมตตาดีแล้ว ได้กุศลแล้วเราก็อุทิศเลย"


การสวดมนต์เป็นนิจนี้ มุ่งให้จิตแนบสนิท ติดในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ จิตใจจะสงบเยือกเย็นเป็นบัณฑิต มีความคิดสูง ทิฏฐิมานะทั้งหลาย ก็จะคลายหายไปได้ เราจะได้รับอานิสงส์ เป็นผลของตนเองอย่างนี้ จากสวดมนต์เป็นนิจ

การอธิษฐานจิตเป็นประจำนั้น มุ่งหมายเพื่อแก้กรรมของผู้มีกรรม จากการกระทำครั้งอดีต ที่เรารำลึกได้ และจะแก้กรรมในปัจจุบัน เพื่อสู่อนาคต ก่อนที่จะมีเวรมีกรรม ก่อนอื่นใด เราทราบเราเข้าใจแล้ว โปรดอโหสิกรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย เราจะไม่ก่อเวรก่อกรรมก่อภัยพิบัติ ไม่มีเสนียดจัญไรติดตัวไปเรียกว่า เปล่า ปราศจากทุกข์ ถึงบรมสุข คือนิพพานได้ เราจะรู้ได้ว่ากรรมติดตามมา และเราจะแก้กรรมอย่างไร ในเมื่อกรรม ตามมาทันถึงตัวเรา เราจะรู้ตัวได้อย่างไร เราจะแก้อย่างไร เพราะมันเป็นเรื่องที่แล้ว ๆ มา

การอโหสิกรรม หมายความว่า เราไม่โกรธ ไม่เกลียด เรามีเวรกรรมต่อกันก็ให้อภัยกัน อโหสิกันเสีย อย่างที่ท่านมาอโหสิกรรม ณ บัดนี้ ให้อภัยซึ่งกันและกัน พอให้อภัยได้ ท่านก็แผ่เมตตาได้ ถ้าท่านมี อารมณ์ค้างอยู่ในใจ เสียสัจจะ ผูกใจโกรธ อิจฉาริษยา อาสวะไม่สิ้น ไหนเลยล่ะท่านจะแผ่เมตตาออกได้ เราจึงไม่พ้นเวรพ้นกรรมในข้อนี้ การอโหสิกรรมไม่ใช่ทำง่าย

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๔ เรื่อง แก้กรรมด้วยการกำหนด โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule04p0301.html
จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง ทำความดีนี้แสนยาก โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule03r0801.html

ลำดับการสวดมนต์

“พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดู เคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์ อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ บอกว่า โยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี แล้วสวด “พาหุงมหากาฯ” หายเลย สติก็ดีขึ้น เท่าที่ใช้ได้ผล สวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากาฯ จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว (อิติปิโส ภะคะวา จนถึง พุทโธ ภะคะวาติ) ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล”
มีลำดับดังนี้

1.ตั้งนะโม ๓ จบ
2.สวดพุทธัง ธัมมัง สังฆัง
3.สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
4.สวดพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
5.สวดมหาการุณิโก
6.สวดพุทธคุณ อย่างเดียวเท่ากับอายุ บวก ๑
เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ อายุ ๕๔ ปี ให้สวด ๕๕ จบ เป็นต้น
7.แผ่เมตตา
8.อุทิศส่วนกุศ

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๓ เรื่อง อานิสงส์ของการสวดพุทธคุณ โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์http://www.jarun.org/v6/th/lrule03r0801.html


เหตุใดต้องสวดพุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)

"อาตมาเคยพบคนแก่อายุ ๑๐๐ กว่าปี มีคนเอากับข้าวมาให้ ก็สวด อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ๑ จบ ให้ตัวเองก่อน สวนอีกจบหนึ่งให้คนที่นำมาให้ เสร็จแล้วให้ถ้วยคืนไป อาตมาจับเคล็ดลับได้ จะให้ใครต้องเอาทุนไว้ก่อน ถึงได้เรียกว่า สวดพุทธคุณเท่าอายุเกินหนึ่งไงเล่า"

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง ทำความดีนี้แสนยาก โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule03r0801.html

"ที่ว่าให้ว่าสวดเท่าอายุนี่ หมายความว่าอายุเท่าไหร่ ๒๐ ถ้าเราสวดแค่ ๑๐ เดียว มันก็ไม่เท่าอายุสวดไปเนี่ยเท่าอายุก่อนนะมันคุมให้มีสติ แล้วก็เกินหนึ่งเพราะอะไร ที่พูดเกินหนึ่งเนี่ยหมายความ คนมักง่ายมักได้ คือมันมีเวลาน้อย ถ้าสวดแค่เกินหนึ่งทำอะไรให้มันเกินไว้ เหมือนคุณโยมเนี่ยไปค้าขาย ยังไม่ได้ขายได้สักกะตังค์เลย จะเอาอะไรไปให้ทาน ยังไม่ได้กำไรเลยต้องให้ตัวเองก่อนนะ นี่ต้องค้าขายต้องลงทุนนี่ ต้องลงทุนก็สวดไป แต่สวดมากเท่าไรยิ่งดีมาก ได้มีสมาธิมาก แต่อาตมาที่พูดไว้คือคนมันไม่มีเวลา ก็เอาเกินหนึ่งได้ไหม เกินหนึ่งได้ก็ใช้ได้นะ แต่ถ้าเกินถึง ๑๐๘ ได้ไหม ยิ่งดีใหญ่ ทำให้เกิดสมาธิสูงขึ้น"

จากบทสัมภาษณ์ในรายการ “ชีวิตไม่สิ้นหวัง” ทางช่อง ๓


บทสวดมนต์

กราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

นมัสการ (นะโม)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

ไตรสรณคมน์ (พุทธัง ธัมมัง สังฆัง)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉาม

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

พระพุทธคุณ (อิติปิ โส)

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

พระธรรมคุณ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ *

(* อ่านว่า วิญญูฮีติ)

พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย* ปาหุเนยโย* ทักขิเณยโย* อัญชะลี กะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ

(อ่านออกเสียง อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไณยโย โดยสระเอ กึ่งสระไอ)

พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง* วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ

* พรัหมัง อ่านว่า พรัมมัง

มหาการุณิโก
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง
ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะรา
ชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก
สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ

สุนั ขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ
สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ** จาริสุ ปะทักขิณัง
กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ
กัตตะวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

** พรัหมะ อ่านว่า พรัมมะ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

หลังจากสวดมนต์ตั้งแต่ต้นจนจบบทพาหุงมาหากาฯ แล้วก็ให้สวดเฉพาะบทพระพุทธคุณ หรืออิติปิโส ให้ได้จำนวนจบเท่ากับอายุของตนเอง แล้วสวดเพิ่มไปอีกหนึ่งจบ ตัวอย่างเช่น ถ้าอายุ ๓๕ ปี ต้องสวด ๓๖ จบ จากนั้นจึงค่อยแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล

พุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ


บทแผ่เมตตา

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กัน และกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ


บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข



บทสวดมนต์ (แปล)

คำแปลกราบพระรัตนตรัย

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้า อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

คำแปลนมัสการ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็น ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (๓ จบ)

คำแปลไตรสรณคมน์

ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

คำแปลพระพุทธคุณ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ)
เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความเจริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ฯ

คำแปลพระธรรมคุณ

พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัตึพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ฯ

คำแปลพระสังฆคุณ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัว บุรุษได้ ๘ บุรุษ
นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ฯ

คำแปลพุทธชัยมงคลคาถา

๑. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารชื่อครีเมขละ พร้อมด้วยเสนา มารโห่ร้องกึกก้อง
ด้วยธรรมวิธี คือ ทรงระลึกถึงพระบารมี ๑๐ ประการ ที่ทรงบำเพ็ญแล้ว มีทานบารมีเป็นต้น
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๒. พระจอมมุนีได้ทรงชนะอาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง ดุร้ายเหี้ยมโหด มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามาร ผู้เข้ามาต่อสู้ยิ่งนัก จนตลอดรุ่ง
ด้วยวิธีที่ทรงฝึกฝนเป็นอันดี คือ ขันติบารมี
(คือ ความอดทน อดกลั้น ซึ่งเป็น ๑ ในพระบารมี ๑๐ ประการ)
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๓. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญาช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี เป็นช้างเมามันยิ่งนัก ดุร้ายประดุจไฟป่า และร้ายแรงดังจักราวุธและสายฟ้า (ขององค์อินทร์) ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ พระเมตตา
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๔. พระจอมมุนีทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจอันยอดเยี่ยม ชนะโจรชื่อองคุลิมาล (ผู้มีพวงมาลัย คือ นิ้วมือมนุษย์) แสนร้ายกาจ
มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๕. พระจอมมุนีได้ทรงชนะความกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา
ผู้ทำอาการประดุจว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้สัณฐานกลม (ผูกติดไว้) ให้เป็นประดุจมีท้อง
ด้วยวิธีสมาธิอันงาม คือ ความสงบระงับพระหฤทัย
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๖. พระจอมมุนี ทรงรุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป คือ ปัญญา ได้ชนะสัจจกนิครนถ์
(อ่านว่า สัจจะกะนิครนถ์, นิครนถ์ คือ นักบวชประเภทหนึ่งในสมัยพุทธกาล)
ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์ มุ่งยกถ้อยคำของตนให้สูงล้ำดุจยกธง
เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก
ด้วยเทศนาญาณวิธี คือ รู้อัชฌาสัยแล้ว ตรัสเทศนาให้มองเห็นความจริง
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๗. พระจอมมุนีทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส นิรมิตกายเป็นนาคราชไปทรมานพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความหลงผิดมีฤทธิ์มาก
ด้วยวิธีให้ฤทธิ์ที่เหนือกว่าแก่พระเถระ
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๘. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพรหมผู้มีนามว่าพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ สำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีความเห็นผิดประดุจถูกงูรัดมือไว้อย่างแน่นแฟ้นแล้ว
ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือ เทศนาญาณ
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

นรชนใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ บทนี้ทุก ๆ วัน
นรชนนั้นจะพึงละเสียได้ ซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลายมีประการต่าง ๆ
เป็นอเนกและถึงซึ่งวิโมกข์ (คือ ความหลุดพ้น) อันเป็นบรมสุขแล

คำแปลมหาการุณิโก

ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพ
สัตว์ทั้งหลาย ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

ขอท่านจงมีชัยชนะ ดุจพระจอมมุนีที่ทรงชนะมาร ที่โคนโพธิพฤกษ์ ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่ เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้นเทอญ

เวลาที่ “สัตว์” (หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น มนุษย์และสรรพสัตว์) ประพฤติชอบ ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี และขณะดี ครู่ดี บูชาดีแล้ว ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย กายกรรม เป็นประทักษิณ วจีกรรม เป็นประทักษิณ มโนกรรม เป็นประทักษิณ ความปรารถนาของท่านเป็นประทักษิณ สัตว์ทั้งหลายทำกรรม อันเป็นประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็น ประทักษิณ*

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแกท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ


หมายเหตุ ประทักษิณ หมายถึง การกระทำความดีด้วย ความเคารพ โดยใช้มือขวาหรือแขนด้านขวา หรือที่หลายท่าน เรียกว่า “ส่วนเบื้องขวา” ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่มีมาช้านานแล้ว ซึ่งพวกพราหมณ์ถือว่า การประทักษิณ คือ การเดินเวียนขวารอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบุคคลที่ตนเคารพนั้น เป็นการให้เกียรติ และเป็นการแสดงความเคารพสูงสุด เป็นมงคลสูงสุด เพราะฉะนั้นบาลีที่แสดงไว้ว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ความปรารถนาและการที่กระทำกรรมทั้งหลาย เป็นประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวานั้น จึงหมายถึงการทำการพูดการคิดที่เป็นมงคล และผลที่ได้รับก็เป็นประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวา ก็หมายถึงได้รับผลที่เป็นมงคลอันสูงสุดนั่นแลฯ


ศึกษาได้ที่เว็บไซต์หลวงพ่อจรัญ

กิจกรรมอบรมนักเรียน

คณะครูโรงเรียนไทยวัฒนาประชารัฐ และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเข้าค่ายพุทธบุตร ประจำปีการศึกษา 2552 ณ สำนักอาศรมธรรมทายาท อ่างซับประดู่ ( วัดหลวงตาแชร์ ) เมื่อวันที่ 24-26 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ตามไปดูภาพกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมกันดีกว่าค่ะ

ที่มาของภาพ : http://thaiwatschool.blogspot.com/2009/06/2552_28.html

หลวงตาแชร์สอนธรรมะก่อนนอน

การฝึกสมาธิ



























บันทึกหลวงตาแชร์ที่ภูฐาน

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย

บันทึกที่ภูฐาน

ที่มา :

ที่มา : http://www.ldinet.org/2008/index.php?option=com_content&task=view&id=430&Itemid=32

16 เดือนที่ผมเป็นนักการเมือง: นพ.พลเดช ปิ่นประทีป
ตอนที่ 1

3 กันยายน 2549
“พักสมองแว้ปหนึ่งที่ภูฏาน”

ชีวิตประจำวันที่วิ่งวุ่นและเร็วจี๋ตั้งแต่เช้าจรดเย็นอยู่ทุกวันในเมืองไทย พลันต้องชะลอลงอย่างทันทีเมื่อล้อเครื่องบินแตะรันเวย์สนามบินแห่งชาติภูฏานที่เมืองธิมพู (Thimphu)

ขอบคุณศูนย์คุณธรรม (ศูนย์พัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม) ที่ได้เชิญให้เข้าร่วมเดินทางไปทัศนศึกษา ความสุขมวลรวมประชาชาติ :GNH ของประเทศภูฏาน ระหว่างวันที่ 25-29 สิงหาคม ที่ผ่านมา

คณะเดินทางประกอบด้วย อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม, น้าประยงค์ รณรงค์, ดร.นพดล กรรณิการ์ (ABAC Poll), รองเลขธิการ สศช.คุณกิตติศักดิ์ สินธุวณิชย์, นพ.อุกฤษณ์ มิลินทางกูร, คุณธีรภาพ โลหิตกุล, คุณนราทิพย์ พุ่มทรัพย์ (ผอ.ศูนย์คุณธรรม), คุณอัมพร แก้วหนู (พอช.), หลวงตาแชร์ พระครูชฎิลใบฎีกา, ฯลฯ

ที่ภูฏานวิถีชีวิตสังคมเกษตรเคลื่อนตัวไปอย่างเชื่องช้า ผู้คนมีความสงบ สันติ อยู่ในวิถีพุทธศาสนา นิกายมหายานแบบธิเบต (วัชรญาณ) ชีวิตผู้คนไม่ต้องดิ้นรนแบบสังคมทุนนิยมสมัยใหม่เหมือนประเทศไทยและที่อื่นๆ

ที่นั่นมีเรื่องน่าเรียนรู้และชวนให้เกิดแรงบันดาลใจหลายอย่าง โดยเฉพาะในเรื่องความสุข ความสงบ ธรรมชาติ และศาสนธรรม

กลับจากทัศนศึกษาคราวนี้ ศูนย์คุณธรรมขอให้เขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็นเพื่อเขาจะนำไปรวบรวมจัดพิมพ์เป็นหนังสือ 1 เล่ม โดยมีคุณธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียนสารคดีผู้โด่งดังในทีมของเราทำหน้าที่เป็น บรรณาธิการ จึงได้ลงมือเขียนเรื่อง “จากสยาม ฟาฏอนี สู่ภูฏาน : ความเหมือนที่แตกต่าง” และส่งต้นฉบับให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หมดภาระไปหนึ่งอย่างสำหรับ Event นี้

วันพุธ 30 สิงหาคม ไปพื้นที่จ.นครศรีธรรมราช ร่วมกับคณะกรรมการคัดเลือกรางวัลลูกโลกสีเขียว รางวัลสำหรับชุมชนคนรักป่าที่ได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 8 แล้ว โครงการนี้มี ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานคณะกรรมการตัดสินและ ปตท.เป็นผู้สนับสนุน

เราไปดูงานของกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำคลองคราม เคยได้รับรางวัลมาแล้วเมื่อ 5 ปีก่อน ปีนี้ไปดูอีกครั้งเพื่อพิจารณาชุมชนที่เหมาะสมสำหรับการมอบรางวัล “5 ปีแห่งความยั่งยืน” ในปลายปีนี้

ที่นี่ชุมชนเข้มแข็งมาก สามารถรักษาป่าและแหล่งน้ำได้เป็นอย่างดี เนื้อที่ป่าเกือบ 20,000 ไร่ ชุมชนเพียงแค่ 100 ครอบครัวเท่านั้นเขาสามารถดูแลป่าเอาไว้ได้โดยต้องผ่านการต่อสู้กับนายทุนและข้าราชการอย่างถึงเลือดถึงเนื้อ ผู้นำคนหนึ่งถูกยิงตาย ทำให้ชุมชนชะงักไประยะหนึ่ง แต่ในที่สุดพวกเขาก็ลุกขึ้นมาต่อสู้ใหม่จนสามารถรักษาทรัพยากรของแผ่นดินเอาไว้ได้

พฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม ที่ศูนย์สนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศพต.) ซึ่งเป็นศูนย์ที่ตั้งขึ้นโดยอำนาจของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชันวัตร ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ศพต.แห่งนี้ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์ไฟใต้และให้ข้อมูลและข้อเสนอโดยตรงแก่รัฐมนตรี จาตุรนต์ ฉายแสง ผู้ได้รับมอบจากนายกรัฐมนตรีให้ดูแลงานพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

น่าสงสารมาก วันนี้มีคณะเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากสงครามกลางเมืองจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 15 คน มาขอเข้าพบผมเพื่อร้องทุกข์ พวกเขาเป็นกำลังพลที่ถูกส่งไปปฏิบัติงานใน จชต.และได้รับบาดเจ็บ ตอนที่อยู่ในโรงพยาบาลในพื้นที่ก็มีผู้หลักผู้ใหญ่ไปเยี่ยมกันเยอะ แต่เมื่อถูกส่งเข้ามารักษาต่อที่ รพ.พระมงกุฎเกล้าในกรุงเทพฯ กลับถูกทอดทิ้ง สวัสดิการต่างๆ ก็ไม่ได้รับตามสิทธิ์ ไม่รู้จะร้องเรียนที่ไหน ทราบข่าวจึงมุ่งมาหา

เสาร์ที่ 2 ก.ย. สุดสัปดาห์ ไปสัมมนาคณะกรรมการบริหารโครงการเมืองน่าอยู่ ที่จังหวัดนครนายก ไอยรารีสอร์ทเพิ่งเปิดใหม่ จัดสถานที่น่ารักดี อยู่หน้าเขื่อนคลองท่าด่านซึ่งมหึมามาก

โครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ ที่ LDI, มูลนิธิพัฒนาไท, สภาพัฒน์ และ ส.ส.ส.ร่วมดำเนินงานกันมาเพิ่งจะจบปีที่ 2 เรามา workshop กันเพื่อเตรียมโครงการปีสุดท้าย

งาน 2 ปีที่ผ่านมาของโครงการ อยู่ในระดับที่ค่อนข้างน่าพอใจ ที่ประชุมจึงวางเป้าหมายว่าในปีสุดท้ายจะต้องจบลงด้วยรูปธรรมความสำเร็จพอสมควร และคาดว่าน่าจะเกิดสถาบันวิจัยเมืองน่าอยู่ขึ้นมา เพื่อขับเคลื่อนทำงานอย่างเป็นกิจลักษณะร่วมกับเครือข่ายเมืองน่าอยู่ทั่วประเทศต่อไป

อาศรมธรรมทายาทมุ่งมั่น เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน

ที่มา http://news.buddyjob.com/education/show_news-2638-7.html

พระครูใบฎีกาชฎิล อมรปญโญ คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ วัดอาศรมธรรมทายาท ต.มิตรภาพ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ขณะนี้ทางวัดอาศรมธรรมทายาท ได้ร่วมกับเครือข่ายพระสังฆพัฒนา จัดโครงการการพัฒนาและขยายผลเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ วัดอาศรมธรรมทายาทขึ้น เพื่อปรับปรุงให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนและสามารถขยายผลการดำเนินงานได้มากขึ้น ทั้งการฝึกอบรมพัฒนาความคิดให้แก่ประชาชนทุกเพศวัย การสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรระดับชุมชน ทั้งวัด บ้าน โรงเรียน และหน่วยงานราชการ การพัฒนาองค์ความรู้ให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น และขยายผลสู่สาธารณชนและการพัฒนาเครือข่าย ให้เกิดแผนพัฒนาด้านคุณธรรม พัฒนาสังคมให้ยั่งยืน

ในขณะเดียวกันทางวัดยังได้จัดทำโครงการขยายผลการสร้างผู้นำจิตอาสา เพื่อความกตัญญูต่อแผ่นดินและเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชปี 2550 ขึ้นด้วย เพื่อเชื่อมโยงโครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ ให้เป็นแหล่งบ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

พระครูใบฎีกาชฎิล กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ทางวัดได้เสนอของบประมาณจำนวน 1,530,000 บาท จากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือศูนย์คุณธรรม เพื่อจะนำมาสนับสนุนโครงการขยายผลการสร้างผู้นำจิตอาสาในท้องถิ่นตลอดปี 2550 อาทิ โครงการอบรมเทคนิคการเป็นวิทยากรให้แก่พระภิกษุสงฆ์ 60 รูป เพื่อให้เป็นผู้นำชาวพุทธ การอบรมแกนนำชุมชน 90 คน ให้เป็นผู้นำจิตอาสา การอบรมข้าราชการ ผู้สูงอายุ ครูอาจารย์ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ จำนวน 250 คน มาเข้าค่ายฝึกอบรมเครือข่ายชุมชนด้านพุทธศาสนา เป็นต้น เพื่อสร้างนิสัยการมีจิตอาสาให้แก่ประชาชน ตลอดจนเสริมสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถบ่มเพาะบุคลากรที่มีคุณภาพด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ประเทศมากขึ้น ซึ่งตนคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากศูนย์คุณธรรมและรัฐบาล.

กิจกรรมอบรมนักเรียน

สคป.สีคิ้ว จัดกิจกรรมค่ายผู้นำ อบรมนักเรียนชั้น ม.5 เมื่อ 19/02/50
นายยุทธพร คุณารักษ์ ผอ.สคป.สีคิ้ว ร่วมกับวัดอาศรมธรรมทายาท จัดกิจกรรมค่ายผู้นำ
ณ วัดอาศรม
ธรรมทายาท โดยมอบหมายให้นางวริษา พลไกรสร พนักงานคุมประพฤติ 6ว และเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ เป็นวิทยากรร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา อบรมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสีคิ้ว "สวัสดิ์ผดุงวิทยา" จำนวน 109 คน ระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2550


ที่มาของข้อมูล : http://www.probation.go.th/news/detail.php?con_id=1&act_id=1656&page=12











ทำบุญปีใหม่ 50

ครอบครัวเข้มแข็งได้เพราะมีความรักและผูกพันกัน
โยมแม่มาลัยของหลวงตาแชร์

ใครล้มลุกคลุกคลาน แม่จับลุก
ปลุกสำนึกทุกคน จงขยัน
ลูกอย่านิ่ง ดูดาย ให้ช่วยกัน
ครอบครัวเราจงรักกันเท่านั้นเอย

















คำกลอนสอนใจ


ที่มาhttp://www.watpitvipassana.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2009 - 2010 สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุบลราชธานี วัดพิชโสภาราม
วัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี 34170
สำนักงานก่อสร้างมหากุฏี โทร. 045-218-080, 08-4354-4687 โทรสาร 045-218-080
Email: mahakuti@gmail.com

ศีลธรรมคือเอกลักษณ์ไทย

ศีลธรรมนี้มีค่า สง่ายิ่ง
คอยประวิง โลกนี้ ให้สดสวย
ศีลละเว้น ธรรมประกอบ เอื้ออำนวย
อาชีพช่วย การศึกษา ฐานะดี
ปาณาละ อะทินนา ควรหลีกเร้น
กาเมเล่น ผิดทาง ห่างวิถี
มุสาปด มดเท็จ เกรดไม่มี
สุรานี้ เผาปัญญาชน วอดวายเอย
ตื่นขึ้นเถิด เยาวชน (ท่านทั้งหลาย) ผู้รักชาติ
อย่าให้ขาด คุณธรรม ประจำจิต
วัฒนธรรม ประเพณี นำชีวิต
อย่าพลาดผิด เอกลักษณ์ ของชาติไทย
เวลานี้ เงินบาท มีค่าน้อย
เลือกใช้สอย ค่อยประหยัด ดัดนิสัย
เอกลักษณ์ ความนอบน้อม พร้อมกายใจ
เยาวชนไทย ค่าไม่ลดเหมือนเงินบาทเอย.
หลวงตาแชร์ พเนจร


หลักในการทำความดี
การทำดี ถูกต้องนั้น มีสี่อย่าง
มีข้ออ้าง ตัดสิน เป็นหลักฐาน
หนึ่ง ทำดี ต้องทำให้ ถูกที่ทาง
อย่าไปอ้าง ทำแล้ว ไม่เข้าที
สอง ทำดี ให้ถูกคน เราควรรู้
สาม ต้องดู กาลเวลา พาสุขศรี
สี่ ทำดี ก็ต้องหมั่น ติดตามดี
สี่ข้อนี้ ทำดีแล้วย่อม ได้ดีเอย.
หลวงตาแชร์ พเนจร

โทษของสุรา
อันสุรา เมรัย ใครเสพย์ติด
พาชีวิต มืดมน จนฉิบหาย
หนึ่ง สินทรัพย์ ตนนั้น พลันวอดวาย
สอง อาจตาย เมื่อทะเลาะเพราะความเมา
สาม อายุสั้น เพราะโรคาพยาธิ
สี่ คนตำหนิ นินทา พาอับเฉา
ห้า หน้าด้าน หนักหนา เวลาเมา
หก โง่เขลา ปัญญาหด หมดสิ้นเอย.
หลวงตาแชร์ พเนจร

โทษอบายมุข
อบายมุข พิษร้าย ทำลายชาติ
มันสามารถ เข่นฆ่า ทุกคนหนา
ทั้งเด็กเล็ก หนุ่มสาว เฒ่าชรา
ติดสุรา การพนัน อกสุมไฟ
ถ้าหากท่าน รักตัวเอง จงเพียรละ
พึงสละ ความหลงผิด จิตผ่องใส
ทั้งครอบครัว ต่างชื่นชม สมฤทัย
ลูกภูมิใจ พ่อแม่ดี มีสุขเอย.
หลวงตาแชร์ พเนจร

ผีร้าย ๖ ตัว (อบายมุข)
ผีที่ ๑ ชอบดื่มสุรา เป็นอาจินต์
ไม่ชอบกิน ข้าวปลา เป็นอาหาร
ผีที่ ๒ ชอบเที่ยว ยามวิกาล
ไม่รักบ้าน รักลูก รักเมียตน
ผีที่ ๓ ชอบเที่ยวดู การละเล่น
ไม่ละเว้น บาร์คลับ ละครโขน
ผีที่ ๔ ชอบคบคนชั่ว มั่วกับโจร
หนีไม่พ้น อาญา ตราแผ่นดิน
ผีที่ ๕ ชอบเล่นม้า กีฬาบัตร
สารพัด ไพ่หวยถั่วโปร์ โฮโลว์สิ้น
ผีที่ ๖ ชอบเกียจคร้าน การทำกิน
มีทั้งสิ้น หกผี อัปรีย์เอย.

พระคุณแม่
พระคุณแม่ เลิศฟ้า มหาสมุทร
พระคุณแม่ สูงสุด มหาศาล
พระคุณแม่ เลิศกว่า สุธาธาร
ใครจะปาน แม่ฉัน นั้นไม่มี
พระคุณแม่ สูงสุด ดุจชีวิต
ลูกจึงคิด อธิษฐาน สร้างกรรมดี
เพื่อต่อสู้ อุปสรรค แห่งชีวี
แม่เปรมปรีดิ์ เพราะลูกมี กตัญญู
เมื่อพ่อแม่ ได้ดี มีความสุข
บรรดาลูก พลอยยินดี จะมีไหน
ลูกยินดี กับพ่อแม่ ด้วยน้ำใจ
ดวงหทัย ลูกชื่น ตื้นตันจริง
อันลูกดี มีน้ำใจ ในพ่อแม่
น้ำใจแท้ เหนือใคร ไปทุกสิ่ง
ท่านบริสุทธิ์ ยุติธรรม น้ำใจจริง
ลูกอ้างอิง ว่าเป็นพระ ของลูกเอย.

พระคุณพ่อ
คุณอะไร ไหนเล่า จะเท่าพ่อ
เป็นผู้ก่อ กำเนิด เลิศคุณค่า
พระคุณท่าน เหนือสิ่งใด ในโลกา
สุดพรรณนา เหนือจะเทียบ เปรียบสิ่งใด
พ่อเลี้ยงลูก ทุกคน ให้เป็นสุข
พ่อหวังปลูก อนาคต ให้สดใส
พ่อจะยาก ลำบาก สักเพียงใด
พ่อหวังให้ ลูกได้ดี เป็นศรีตน
ห่วงลูกยาม เจ็บไข้ ใครรักษา
ห่วงลูกยา ก่อนหลับ คิดสับสน
ห่วงลูกอด เวทนา เมื่อคราจน
ห่วงลูกตน ยิ่งกว่าตัว ของพ่อเอง
ลูกยังว่าย ไม่ถึงฝั่ง พ่อยังทุกข์
ลูกถึงฝั่ง พ่อมีสุข ชมลูกเก่ง
ลูกได้ดี เป็นศรีแก่พ่อ และตัวเอง
ลูกพ่อเก่ง พ่อมีสุข ทุกคืนวัน.

มรดกของพ่อแม่
พ่อแม่ไม่มี เงินทอง จะกองให้
จงตั้งใจ พากเพียร เรียนหนังสือ
หาวิชา ความรู้ เป็นคู่มือ
เพื่อยึดถือ เอาไว้ ใช้เลี้ยงกาย
พ่อและแม่ มีแต่ จะแก่เฒ่า
จะเลี้ยงเจ้า เรื่อยไป นั้นอย่าหมาย
ใช้วิชา ช่วยตน ไปจนตาย
ลูกสบาย แม่กับพ่อ ก็ชื่นใจ.

เป็นมนุษย์หรือเป็นคน
เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง
เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน
ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน
ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ
ใครมีครบ ควรเรียก มนุสสา
เพราะทำถูก พูดถูก ทุกเวลา
เปรมปรีย์ดา คืนวัน สุขสันต์จริง
ใจสกปรก มืดมัว และร้อนเร่า
ใครมีเข้า ควรเรียก ว่าผีสิง
เพราะพูดผิด ทำผิด จิตประวิง
แต่ในสิ่ง นำตัว กลั้วอบาย
คิดดูเถิด ถ้าใคร ไม่อยากตก
จงรีบยก ใจตน รีบขวนขวาย
ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย
ก็สมหมาย ที่เกิดมา อย่าเชือนเอย.

มองกันแต่แง่ดีเถิด
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย
จะหาคน ที่มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเอย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง.
พุทธทาสภิกขุการถนอมดวงใจแม่ ๑๐ ประการ

ลูกที่ดีมีหัวใจแบ่งให้แม่
ต้องดูแลเลี้ยงดูชูใจท่าน
เพียงแต่ลูกถามไถ่ให้ชื่นบาน
ด้วยคำหวานก็แสนสุดสบายใจ
ต้องรักษาความดีไม่มีพร่อง
และยังต้องเพิ่มความดีที่สดใส
มีหิริโอตตัปปะชนะภัย
รู้สึกความละอายในสิ่งทราม
ต้องรู้จักอดกลั้นและอดทน
ต้องเป็นคนจิตผ่องใสไม่เกรงขาม
ต้องน่ารักน่าเอ็นดูทุกโมงยาม
เป็นคนงามทั้งกิริยาและน้ำใจ
ทั้งมนุษย์เทวดาอยากช่วยเหลือ
อยากจุนเจือให้เป็นสุขทุกสมัย
ทั้งบัณฑิตสรรเสริญเจริญใจ
อยู่ใดใครก็อยากผูกสัมพันธ์
ผลสุดท้ายอาจได้ถึงมรรคผล
บรรลุจนนิพพานเมื่อดับขันธ์
จบคุณงามความดีที่รำพัน
ได้ช่วยกันสรรเสริญลูกคนดี

สำนึกพระคุณแม่
พระคุณแม่ เลิศฟ้า มหาสมุทร
พระคุณแม่ สูงสุด มหาศาล
พระคุณแม่ เลิศกว่า สุธาธาร
ใครจะปาน แม่ฉัน นั้นไม่มี
อันพระคุณ ใครใคร ในพิภพ
ยังรู้จบ แจ้งคำ มาพร่ำขาน
แม่และพ่อ มีคุณต่อบุตร สุดประมาณ
ขอกราบกราน ระลึกถึง ซึ้งพระคุณ
เจ้าข้าเอ๋ย ใครหนอใคร ให้กำเนิด
จึงก่อเกิด เติบใหญ่ ด้วยไออุ่น
ทั้งกล่อมเกลี้ยง เลี้ยงลูก ด้วยการุณ
ช่วยค้ำจุณ จนรอดพ้น เป็นคนมา
ถึงลำบาก ร่างกาย ใจห่วงลูก
ด้วยพันผูก ดวงใจ ให้ห่วงหา
หัวอกใคร จะอุ่นเท่า อีกเล่านา
คอยปลอบเช็ด น้ำตา คราระทม
เป็นแดนใจ ใสสะอาด ปราศกิเลส
เป็นสรรเพชญ ของบุตร พิสุทธิ์สม
ความรักเปลี่ยน เมตตา น่านิยม
ประดุดลม โชยเย็น ใครเห็นดี
หอบสังขารทำงาน เลี้ยงลูกน้อย
เกรงจะด้อย ใจทราม ต่ำศักดิ์ศรี
จึงส่งให้ ได้ศึกษา วิชามี ให้ได้ดี
กว่าแม่พ่อ หว้งรอคอย
เหมือนนกกา หาเหยื่อ มาเผื่อลูก
เปรอความสุข หาทรัพย์ไว้ ให้ใช้สอย
ยามไกลพราก จาดอุรา ตั้งตาคอย
ใจระห้อย นอนสะอื้น ขื่นขมทรวง
กว่าลูกลูก จะสำนึก พระคุณท่าน
ช่างเนิ่นนาน บ้างชีวา ลาลับล่วง
บ้างก็ป่วย จนแทบ สื้นแดดวง
ลูกจึงห่วง เอาใจใส่ ในกายา
อย่ารอให้ ใกล้ตาย จึงกรายใกล้
เป็นศพไป จึงรู้บุญ คุณท่านหนา
ยามท่านอยู่ ควรรู้ชัด สร้างศรัทธา
ตอบแทนคุณ มารดาบิดาเอย
ขอน้อมนอบ หมอบกราบแท้ พระแม่แก้ว
สำนึกแล้ว ความเลว เคยเหลวไหล
ลูกซึ้งแล้ว แนววิถี ที่เป็นไป
แม่ช้ำใจ เพราะลูกมา จนชาชิน
ลูกสร้างกรรม ทำบาป กราบเท้าแม่
ซึ้งใจแท้ แม่อภัย ให้หมดสิ้น
น้ำตาแม่ แต่ละหยด ที่รดริน
ลูกถวิล ดังน้ำกรด รดหัวใจ
ลูกขอบวช แทนพระคุณ คุณแม่แล้ว
ร่มโพธิ์แก้ว โพธิ์ทอง ของลูกเอ๋ย
อันกุศล ผลบุญ ที่คุ้ยเคย
ขอชดเชย คุณแม่พลัน กตัญญู

พระคุณพ่อ
พระคุณพ่อ ล้นฟ้า นภากาศ
พระคุณพ่อ สามารถ คุ้มแดนฝน
พระคุณพ่อ สร้างลูก ให้เป็นคน
พระคุณพ่อ มากล้น กว่าสิ่งใด
พ่อผู้ให้ กำเนิด เกิดชีวิต
พ่ออุทิศ สั่งสอนลูก ปลูกนิสัย
พ่อชี้นำ แนวทาง ไม่ห่างไกล
พ่อห่วงใย รักลูก ทุกเวลา
ทุกหยาดเหงื่อ แรงงาน ท่านลำบาก
พ่อเหนื่อยยาก ตรากตรำ เช้าค่ำหา
เงินจุนเจือ เพื่อลูกเพียร เรียนวิชา
ให้ก้าวหน้า สมหวัง ดังตั้งใจ
อยู่กับพ่อ ลูกได้พบ ความอบอุ่น
ซาบซึ้งคุณ ความดี พ่อมีให้
ความสัมพันธ์ อันดี มีเยื่อใย
ช่างสุขใจ ได้เสาหลัก ให้พักพิง
โอ้ผู้ใด ไหนเล่า จะเท่าพ่อ
พระคุณหล่อ เลี้ยงลูกไว้ ให้ทุกสิ่ง
ยากจะเทียบ เปรียบสิ่งใด ไม่ได้จริง
คุณใหญ่ยิ่ง ต่อบุตร สุดพรรณนา
คำว่าพ่อ คำนี้ ชี้บ่งชัด
คำว่าพ่อ เจนจัด ไร้กังขา
คำว่าพ่อ เรียกแล้ว ชื่นชีวา
คำว่าพ่อ ขอบูชา คุณความดี
โอ้ละหนอ ถึงแม้พ่อ จะแก่เฒ่า
ท่านยังเฝ้า ห่วงใย ไม่หน่ายหนี
ผูกสมัคร รักแท้ แผ่ไมตรี
พระคุณมี ล้นฟ้า หาใดปาน
ลูกจะไม่ ขอลืม พระคุณท่าน
น้ำใจนั้น กว้างใหญ่แท้ แผ่ไพศาล
จะดูแล เลี้ยงพ่อ ตราบชั่วกาล
แม้วายปราณ ขอเชิดชู บูชาคุณ
ขอน้อมนอบ หมอบกราบลง ตรงตักพ่อ
เวรกรรมก่อ สร้างไว้ ไม่เสื่อมสูญ
ประพฤติชั่ว เสเพล เนรคุณ
พ่ออาดูร ชอกช้ำ น้ำตานอง
ลูกสำนึก ความเลว แต่หนหลัง
พ่อท่านยัง ให้อภัย ไม่ขุ่นข้อง
เปี่ยมล้นด้วย เมตตาธรรม ตามครรลอง
ลูกไตร่ตรอง ระลึกยิ่ง เหนือสิ่งใด
ลูกขอบวช ทดแทน พระคุณพ่อ
จะไม่ขอ ทำตัว ให้เหลวไหล
จะยึดมั่น ในพระคุณ รัตนะตรัย
จะฝักใฝ่ คุณงาม และความดี
จะรักษา คุณธรรม อันประเสริฐ
ให้ดีเลิศ งามเด่น เป็นศักดิ์ศรี
ประพฤติตัว สดใส ไร้ราคี
สมดังที่ พ่อหวัง และตั้งใจ
ขอผลบุญ ที่ลูกทำ ในครั้งนี้
หรือความดี ที่ลูกทำ แต่ครั้งไหน
ให้คุณพ่อ ปราศจากโศก ทุกข์โรคภัย
จิตผ่องใส ร่มเย็น เป็นสุขเอย.

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ความเป็นมา


เจาะลึก “การทำงานพัฒนา” เครือข่ายพระสังฆพัฒนาโคราช
ที่มาของข้อมูล http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/show.php?Category=knowlege&No=1762


ในอดีตที่ผ่านมาถือได้ว่าวัดและพระสงฆ์มีบทบาทที่เกี่ยวข้องกันกับความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก วัดได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแต่ละหมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ในการประกาศศาสนาจนเป็นที่ยอมรับศรัทธาและความเคารพของคนในชุมชน แต่เมื่อความเจริญในรูปแบบต่าง ๆ เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ชุมชน บทบาทของวัดและพระสงฆ์เริ่มลดลง ทำให้วัดและพระสงฆ์มีการมุ่งเน้นการพัฒนาแต่ “ทางโลก” ทำให้ละเลยมิติ “ทางธรรม” เป็นเหตุให้สถาบันศาสนาคงเหลือแต่บทบาทในการประกอบพิธีกรรมเท่านั้น

ในจังหวัดนครราชสีมาเองก็เหมือนกันที่ประสบปัญหาเช่นนี้ ทางพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาเลยมีการรวมตัวกันเพื่อทำงานพัฒนาชุมชน ในชื่อที่ว่า “เครือข่ายพระสังฆพัฒนาโคราช” ที่มา วิธีคิด และวิธีการทำงานนั้น หลายคนเองก็ยังคงสงสัยว่าพระสงฆ์ทำอะไรได้บ้างต่อการพัฒนาชุมชน หาคำตอบได้ที่นี่


“แนวดิ่ง แนวราบ” ผนึกกำลังสร้างเครือข่าย
การก่อเกิดของเครือข่ายพระสังฆพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ก่อตั้งโดยพระสงฆ์นักพัฒนากลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์และเคยร่วมทำงานพัฒนามาด้วยกัน อีกทั้งมีอุดมการณ์ร่วมกัน ที่ต้องการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์ในชุมชนเพื่อพัฒนาให้มีองค์ความรู้ที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ในการทำงานพัฒนาชุมชน เครือข่ายพระสังฆพัฒนาโคราช เกิดขึ้นได้โดยการนำของพระครูใบฎีกาชฎิล อมรปญฺโญ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงตาแชร์”

“หลังจากมีการรวมกลุ่มกันได้ในครั้งแรก 10 วัด ก็ได้ทำงานหลายโครงการเพื่อชุมชน เริ่มต้นได้เริ่มทำงานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชน งานอบรมคุณธรรมจริยธรรม งานฝึกอาชีพด้านการผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์ในชุมชน จนทำเกิดความเชื่อมั่นของพระสงฆ์ในพื้นที่และคนในชุมชน” พระครูใบฎีกาชฎิล อมรปญฺโญ หรือ “หลวงตาแชร์” ประธานเครือข่ายพระสังฆพัฒนากล่าวถึงความเป็นมาของเครือข่าย

หลวงตาแชร์ กล่าวต่อว่า “เมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2545 ก็คิดว่าการทำงานไม่สามารถทำได้โดยลำพัง ทางพระสังฆพัฒนาจึงร่วมมือกับพระสังฆาธิการ ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นโครงสร้างเครือข่ายตามระบบการปกครองของคณะสงฆ์ประจำจังหวัด มารวมพลังกันเพื่อทำงานในการสร้างเข้มแข็งให้กับชุมชน จนตอนนี้ถ้าพูดถึงเครือข่ายพระสังฆพัฒนาโคราช ก็หมายถึงเครือข่ายของพระสงฆ์ทั้งจังหวัด ซึ่งถือได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ”

แนวคิด “พัฒนาคนก่อนพัฒนางาน”
คุณธรรม นำหน้าการพัฒนาทุกรูปแบบ โดยเน้นการพัฒนาคนก่อนพัฒนางาน
นี่คือแนวคิดต้นแบบของการทำงานเครือข่ายพระสังฆพัฒนา โดยพยายามให้พระสงฆ์ในเครือข่ายได้ทำงานด้วยความสุขและ
มีสัมมาสมาธิให้เกิดการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อสร้างความสามัคคีกันในหมู่ของพระสงฆ์เพื่อผลักดันงานให้ไปสู่
ความสำเร็จ ซี่งพระสงฆ์นั้นมีความเชื่อความศรัทธาเป็นทุน มีบุญเป็นกำไร มีปัญหาเป็นตัวแก้ไข และมีเงินเป็นผลพลอยได้ โดยเป้าหมายสูงสุดเพื่อความยั่งยืนและความเข้มแข็งในชุมชน พระครูใบฎีกาชฎิล อมรปญฺโญ หรือ “หลวงตาแชร์” กล่าว

ซึ่งมีปรัชญาวัดอาศรมธรรมทายาท จังหวัดนครราชสีมา ที่เปรียบเสมือนเป็นแนวคิดหลักสำหรับการทำงานของเครือข่าย ว่า “เสริมสร้างความรู้ เชิดชูคุณธรรม พัฒนาผู้นำ สงเคราะห์มวลชน ประสานองค์กร นำทางพ้นทุกข์” โดยมีกระบวนการทำงานที่สำคัญของเครือข่ายในด้านการจัดการให้ความรู้ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งรวมไปถึงผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ เยาวชน หรือกลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องต่าง ๆ ทั้งการติดยาเสพติด และติดการพนัน หรือชาวบ้านที่ประสบปัญหาเรื่องการทำมาหากิน ทั้งการอบรม การศึกษาดูงานที่อื่น การพัฒนาความเป็นผู้นำ การให้ผู้นำเป็นตัวอย่างที่ดี การรวมกลุ่มให้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และการจัดสวัสดิการตามความเหมาะสมของแต่ละชุมชน เพื่อสร้างแกนนำและคณะทำงาน ซึ่งในอนาคตจะเป็นกำลังหลักในการทำงานของเครือข่ายพระสงฆ์

สร้างบันไดพัฒนา เพียงเจ็ดขั้นเพื่อชุมชน
ในกระบวนการทำงานพัฒนาที่เครือข่ายพระสังฆพัฒนาได้ใช้ทำงานร่วมกับชุมชนนั้น ประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานที่เป็นระบบ ตั้งแต่ก่อนเริ่มทำงาน จนกระทั่งลงมือปฎิบัติงานในพื้นที่ และรวมไปถึงการประเมินผลการทำงานในแต่ละพื้นที่เพื่อการพัฒนาและปรับปรุง โดยทางเครือข่ายฯ ได้สร้างเครื่องมือสำหรับการมองชุมชนและร่วมทำงานโดยใช้ “บันได 7 ขั้นเพื่อการพัฒนา” ดังนี้

ขั้นที่ 1.จะทำหน้าที่ในการค้นหาทุนทางสังคม เรียนรู้ศึกษางานชุมชน หลังจากนั้นใน ขั้นที่ 2 ก็ถอดองค์ความรู้และถอดบทเรียนที่ได้ศึกษามา เพื่อเข้าสู่ ขั้นที่ 3 ในการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อปลุกจิตสำนึกต่อการเปลี่ยนแปลงชุมชนตนเอง ในขั้นที่ 4 ก็พยายามพัฒนาปรับปรุงและสร้างความภูมิใจในชุมชนโดยการเสริมแรงสนับสนุนที่เข้มแข็ง เมื่อเกิดพลัง และความสุขในการมองชุมชนก็เข้าสู่ ขั้นที่ 5 คือการพยายามหาทางออกและแก้ปัญหาในชุมชนของตนเอง เมื่อเห็นว่าการทำงานได้ผลในระดับหนึ่งควรเป็นแบบอย่างต่อการเรียนรู้ในชุมชนอื่นๆ ก็เดินขึ้นในบันไดขั้นที่ 6 คือ ขยายผลสู่ชุมชนอื่น เพื่อเป็นแบบอย่าง หลังจากนั้นในบันไดขั้นสุดท้าย ขั้นที่ 7 ก็นำสู่ความรู้เหล่านั้น ไปสู่เวทีสาธารณะ และสร้างวิทยากรในชุมชน

ถึงแม้สภาพปัญหาในชุมชนมีความซับซ้อน และเกี่ยวข้องกันหลายๆ ฝ่ายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และค่านิยามความเชื่อ การที่จะแก้ปัญหานั้นคงเกิดขึ้นไมได้เพียงคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งถ้ามองถึงการเชื่องโยงทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน นำมาประยุกต์และพัฒนาให้เกิดการแก้ปัญหานั้น พระสงฆ์เองก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนานั้น แต่การทำงานของพระสงฆ์ที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา ถือได้ว่าส่งผลดีต่อชุมชนเป็นอย่างมาก ในการเป็นจุดเริ่มต้นและกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมหรืองานในชุมชน ซึ่งหากถอดบทเรียนจากความสำเร็จในอดีต จะพบว่า เครื่องมือที่สำคัญที่สุดคือ “ความเชื่อ ความศรัทธา” ที่ประชาชนมีต่อพระ และ “จิตสาธารณะ” ที่สมาชิกในชุมชน มีร่วมกัน ทั้งนี้ “เครือข่าย” ก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติและนำไปใช้ในการเชื่อมโยงจากเครือข่ายพระสงฆ์สู่ชาวบ้านในชุมชนด้วยเช่นกัน.

ศูนย์ข้อมูล กป.อพช. อีสาน 53/1 ซ.สระโบราณ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 3200

http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/show.php?Category=knowlege&No=1762

ที่มา : วรเชษฐ เขียวจันทร์ สำนักข่าวชาวบ้าน (222.123.223.14) [2008-01-08 09:59:19]
http://www.peoplepress.in.th/archives/autopagev3/show_page.php?group_id=1&auto_id=1&topic_id=967&topic_no=78&page=1&gaction=on